วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เพาะเห็ดโอ่ง

               ที่ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม แคร์ได้มาฟังคุณป้าอรนุช เขาเป็นครูภูมิปัญญาของที่นี่ วันนี้มาอธิบายวิธีการเพาะเห็ดโอ่ง ย้อนอดีตไปเมื่อหกปีที่แล้วหลังจากคุณป้าอรนุชเกษียณอายุราชการ เขาก็เริ่มหากิจกรรมทำหลังเกษียณ การเพราะเห็ดโอ่งเป็นหนึ่งสิ่งที่เขาเลือกทำการเพาะเห็ดโอ่งนั้น เป็นเป็นกิจกรรมที่สนุก แล้วก็สร้างรายได้ได้อีกด้วย ขั้นตอนวิธีการไม่ยุ่งยาก อีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ก็หาได้ง่ายๆ
.
(การเพาะเห็ดในโอ่ง)
 .
               อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมี ขี้เลื่อยยางพารา 100 ส่วน, รำละเอียด 7 ส่วน, ปูนขาว 3 ส่วน, สปอร์เห็ดนางฟ้า, โอ่งมังกร โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว, กระสอบป่าน ผ้าห่ม หรือผ้าที่ไม่ใช้แล้วนำมาใช้สำหรับปิดปากโอ่ง, ถุง สำหรับใส่เชื้อเห็ด, คอขวด, กระดาษหนังสือพิมพ์,  หนังยาง, ใยฝ้าย หรือสำลี และน้ำสะอาด
.
(คุณป้าอรนุชกำลังอธิบายวิธีการเพาะเห็ดในโอ่ง)
.
               วิธีเพาะ
               1 นำขี้เลื่อยยางพารา รำละเอียด ปูนขาว ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ในข้างต้น มาผสมให้เข้า โดยใส่น้ำให้ชุ่มใส่แต่พอดีระวังอย่าให้แฉะ
               2 นำนำขี้เลื่อยยางพารา รำละเอียด ปูนขาว ที่ผสมได้ที่แล้วอัดใส่ถุงจนเต็ม ใส่คอขวดรัดยางให้แน่น
               3 นำไปฆ่าเชื่อ ด้วยการนึ่งประมาณ 3-5 ชั่วโมง แล้วนำออกมาพัก
               4 ใส่สปอร์เห็ดลงไป 1 ช้อนชา ใส่ใยฝ้าย หรือสำลีลงไป แล้วปิดฝาด้วยหนังสือพิมพ์รัดหนังยาง 
               5 ขั้นตอนการรอฟักเชื้อ ต้องเก็บก้อนเห็ดที่ได้ ไม่ให้โดนแดด แนะนำว่า ถ้าหาที่บ้านของใครมีโอ่งแตก โอ่งร้าวไร้ประโยชน์ ก็สามารถนำมาใช้ในเป็นโรงเพาะเห็ดได้ วิธีการวางให้วางทางนอน หันปากขวดออกมาทางปากโอ่ง รดน้ำก้อนเชื้อเห็ดด้วยสายยาง ภายใน 5 – 7 วัน จะได้ดอกเห็ด

               มาถึงวิธีเก็บ สำคัญมากค่ะ คุณป้าอรนุชแนะนำว่า ถ้าจะเก็บดอกเห็ด อย่าตัดเด็ดขาด เพราะถ้าตัดจะทำให้มันเน่า แล้วจะเน่าทั้งก้อนด้วย วิธีเก็บที่ถูกต้องคือ ดึงเขาออกมาจนถึงราก เป็นการเปิดโอกาสให้ดอกใหม่งอกออกมาได้อีกจ้า 
               โถ~ คุณแม่ ไม่น่าเอาอ่างปลาไปลงเพชรหึงเลย(ตั้งแต่ลงก็โตวันโตคืนเลย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น