วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ถ่านผลไม้

               มาถึงเรื่องถ่านผลไม้แล้วนะคะ เรื่องนี้จะเป็นเรื่องสุดท้ายจากศูนย์การเรียนมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม ที่แคร์หยิบมาเล่า จริงๆแล้วที่แคร์ไป ยังมีหลายเรื่องที่ได้เรียนรู้มา ถ้าใครสนใจไปเที่ยวที่นี่ก็เชิญได้นะคะ เพราะนอกจากจะสนุกแล้วเรายังได้ความรู้อีกด้วย  
.
(ถ่านผลไม้)

               ถ่านผลไม้ได้มาจากการเผาผลไม้ที่ขายไม่ได้จนถ่าน จาก 0 ตอนนี้ได้ราคาถึงก่อนละ 30 บาท  
.
 (ผลไม้ 0 บาท + ถ่านผลไม้ ก้อนละ 30 บาท)  
.
และยังได้ผลพลอยได้อีกมากมาย ผลพลอยได้ที่ได้จากการเผาถ่าน ได้แก่ น้ำส้มควันไม้ ขี้เถ้า น้ำขี้เถ้า และ ชาสมุนไพร
.
(ผลพลอยได้ที่ได้จากการเผาถ่าน ชาสมุนไพร น้ำส้มควันไม้ ถ่าน ขี้เถ้า และน้ำขี้เถ้า ตามลำดับในภาพ) 

ขั้นตอนการเผาถ่านไม่ยาก เพียงนำผลไม้ที่ได้กล่าวไปในข้างต้นมาเผาในเตาเป็นเวลา 8 ชั่วโมง แล้วนำออกจากเตา ก็ได้ถ่านแล้ว
.
(ภายในเตาเผาถ่าน ก่อนการเผาถ่าน)
.
               น้ำส้มควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจาก การผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่าน ได้มีการถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ รอบปล่องดักควัน นำผ้าชุบน้ำมาพันไว้รอบปล่อง จะเกิดการควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำออกมา ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้มีมากมาย ได้แก่ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตกระตุ้นความต้านทานโรค  ป้องกันศัตรูพืช ขับไล่แมลงทุกชนิดและเชื้อรา ทั้งยังช่วยให้พืชผักและผลไม้มีรสหวานอีกด้วย
.
(เตาเผาถ่าน ตรงบริเวณไม้ไผ่ืที่เห็นคือท่อสำหรับปล่อยควันที่เกิดจากการเผาถ่าน พอนำผ้าชุบน้ำมาพันไว้
รอบไม้ไผ่ จะเกิดการควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำออกมากลายเป็นน้ำส้มควันไม้  + น้ำส้มควันไม้) 
 .
               ขี้เถ้า เป็นเศษขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาถ่าน คุณสถาพรเล่าถึงประโยชน์ของขี้เถ้าว่าสามารถนำไปใส่ต้นไม้ได้ เพราะจะช่วยให้ความหวาน เช่น นำไปใส่ต้นมะละกอ ก็จะทำให้ผลมะละกอที่ออกมามีรสหวานกว่าปกติ 
               น้ำขี้เถ้า ได้มาจากการนำขี้เถ้าไปแช่ในน้ำ ทิ้งไว้จนตกตะกอน น้ำที่ได้สามารถนำมาใช้ล้างผักผลไม้ได้ เพราะจะช่วยกำจัดสารเคมีตกค้างได้ หรือสามารถนำไปต่อยอดทำเป็นน้ำยาล้างจ้านได้ โดยผสม N70 และส่วนประกอบอื่นๆเขาไป 
               ชาสมุนไพร ได้มาจากความร้อนที่ยังมีอยู่ในเตา หลังจากเผาถ่านเตาจะยังมีความร้อนอยู่ คุณสถาพรได้นำสมุนไพรสนมาใส่ถาชนะทนความร้อน แล้วใส่ลงไปในเตา 
.
(เตรียมอบชาสมุนไพร) 

ความร้อนที่มีอยู่จะช่วยอบให้สมุนไพรที่ใส่เข้าไปแห้ง และกลายเป็นชาในที่สุด เป็นการใช้พลังงานที่เหลืออยู่ได้ให้เป็นประโยชน์และก่อในเกิดรายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น